เรื่องดีๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก เพื่อน ม.ต้น …

เรื่องดีๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก … เมื่อวานไปกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนร่วมรุ่น ม.ต้น อ่านไม่ผิดครับ ม.ต้น ที่ร้านอาหารชานเมืองของเพื่อนคนหนึ่ง

ผมหนีบเอายัยเฟิร์นไปด้วยตามปกติ เพื่อการพัฒนาทักษะการเข้าสังคมของเธอ เพื่อนพยาบาลคนหนึ่งใช้เฟสบุ๊คซื้อของไม่เป็นไลน์มาบอกล่วงหน้าว่า ให้เฟิร์นเอาสินค้าที่ขายติดมาด้วยนะ เพราะอยากจะสนับสนุน

เรื่องดีๆ

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก …

ด้วยความเกรงใจเพื่อนๆ ผมไม่คิดจะให้เฟิร์นเอาอะไรไปขาย เพราะกลัวเพื่อนเข้าใจผิด ว่าให้ลูกมาหากินกับเพื่อน แต่เมื่อเพื่อนไลน์มาแบบนี้ในไลน์กลุ่มด้วย ก็จำต้องให้เธอหยิบไปหน่อย เธอก็ขนเอาไปทั้งร้าน ซึ่งก็มี 4 ชิ้น 555 🙂

เรื่องดีๆ

มีหลายๆเรื่องเกิดขึ้นในงานเมื่อวาน

1. ผมก็เพิ่งทราบว่า เพื่อนพยาบาลคนนั้นมีลูกที่พิเศษในบางมิติเช่นกัน เธอและลูกอาศัยอยู่ต่างบ้านต่างเมือง เผชิญความท้าทายในการใช้ชีวิตที่ไม่น้อยกว่าผมเลย จึงเข้าใจว่าทำไมเพื่อนถึงอยากช่วยอุดหนุนเธอ ทั้งๆที่เพื่อนซื้อของออนไลน์ไม่เป็น …

2. เพื่อนคนหนึ่งกระซิบบอกว่าแอบ inbox เธอ ซื้อไปชิ้นแรกในวันแรกที่ยัยเฟิร์นเปิดร้าน มาทราบทีหลังว่า เพื่อนก็ลำบากมากมายในวันที่ตัดสินใจออกจากงานประจำมาเปิดร้านขายส่งที่สำเพ็งกับสามี เพื่อนบอกว่า ชิ้นแรกที่ขายได้ ทำให้มีกำลังใจที่จะไปต่อได้ ชิ้นนั้นก็มาจากเพื่อนอีกคนที่ซื้อไป เพื่อนรู้ว่าขายได้ชิ้นแรกมีความหมายกับคนเริ่มขายของแค่ไหน …

3. ระหว่างแกะกุ้ง แกะ ปู ก็คุยออกตัวกับเพื่อนคนหนึ่งว่าเกรงใจพวกมันเหมือนกันที่หนีบเอาลูกสาวคนพิเศษมาด้วยทุกครั้ง เพราะผมเชื่อว่า เพื่อนกลุ่มนี้เข้าใจและรับผมได้กับภาระที่ผมมีและวิถีที่ผมเป็น เพราะไม่งั้น ผมก็ไม่มีเวทีจริงที่ไหนมากที่จะให้เฟิร์นฝึกหัดเรียนรู้การอยู่ในสังคม(คนปกติ)จริงๆ

เพื่อนจิ้มกุ้งแล้วบอกว่า … “เฮ้ย อย่าคิดมาก กูว่างี้ ถ้าเพื่อนคนไหนรับมึงไม่ได้ มึกก็เลิกคบ(แม่ง)ไปเลย”

4. พอเธออิ่ม และ ขายของหมดร้าน (ที่มี 4 ชิ้น) เธอก็งองแงจะกลับ ผมก็เลยบอกว่าก็กลับไปก่อน กลับเองเลย เพราะผมฝึกไว้แล้วให้กลับเองได้ และ ตอนมา เธอก็มาเอง มาเจอกันที่ร้านเพื่อน ผมก็ให้เธอไปไหวสวัสดีลาเพื่อนๆ เพื่อนๆก็แสดงความห่วงใยว่าให้ลูกเด็กพิเศษกลับเองได้ไง ก็อธิบายไปว่าได้ หัดไว้แล้ว

… เพื่อนอีกคนนั่งตรงข้าม รีบหยิบมือถือมาโทร ทุกคนได้ยิน (เสียงเพื่อนก็ราวๆนี้ตั้งแต่เด็กยันสาวน้อยยันสาวมาก 555) เพื่อนโทรบอกลูกสาว น.ศ. มหาวิทยาลัย ปี2 ที่กำลังจะมาหาแม่ที่ร้านฯว่า “หนูมาเองนะ มาบีทีเอส ลงสถานี … หาซอย … แล้วเดินมา … แม่ไม่ไปรับแล้วนะ”

… แล้วเพื่อนก็หันมาค้อน บอกทั้งโต๊ะเสียงดังว่า เพราะแกคนเดียว ไอ้นก … เมื่อคืนเพื่อนไลน์เข้ามาในไลน์กลุ่มว่า ลูกสาวไปฟ้องพ่อว่าแม่เปลี่ยนไป 555 … ส่วนผม นอนอมยิ้ม หลับฝันดี 🙂

5. หลังจากเฟิร์นกลับไปสักพัก เพื่อนอีกคนหนึ่ง มาแกะปูอยู่ข้างๆ เล่าให้ฟังว่า ตะกี้ไปคุยกับยัยเฟิร์นมา ถามเธอว่า ทำไมเอาของมาขายล่ะ คุณพ่อก็มีสตางค์นะ ไม่เห็นต้องลำบากเลย (รู้แหละว่าเพื่อนไม่ได้หมายความอย่างนั้นจริงๆ เป็นคำถามทดสอบเด็ก) เพื่อนบอกว่า มึงรู้ไหม ลูกมึงตอบกูว่าไง … “ถ้าคุณพ่อตาย หนูต้องอยู่เองให้ได้”

คำภาวนาของหนู … (ADHD 8)

คำภาวนาของหนู … (ADHD 8)

โรคสมาธิสั้น คืออะไร

โรคสมาธิสั้น หรือ ภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder; ADHD) เป็นภาวะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง โดยเป็นภาวะที่มีการค้นพบมานานแล้วแต่อาจเพิ่งเป็นที่รู้จักในสังคมไทยเมื่อไม่นานมานี้

สาเหตุ

สำหรับสาเหตุของโรคสมาธิสั้นนั้น เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันโดยมีปัจจัยหลัก คือ

ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม พบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 75

ปัจจัยทางด้านระบบประสาท พบว่ามีการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด การวางแผน การจัดลำดับสิ่งต่างๆ และการควบคุมตนเอง รวมถึงมีสารในสมองที่สำคัญบางตัวน้อยกว่าคนปกติทั่วไป

นอกจากนี้ยังพบว่าการที่แม่สูบบุหรี่ ดื่มสุราระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติคลอด ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เด็กมีโอกาสเป็นสมาธิสั้นด้วย

อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีอาการมากขึ้น หรือทำให้เด็กปกติดูมีอาการคล้าย สมาธิสั้น หรือที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม” คือ ปัจจัยทางด้านการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย ตามใจ ไม่มีกฎระเบียบภายในบ้าน ไม่มีการควบคุมที่สม่ำเสมอ หรือความเห็นในการเลี้ยงดูที่ไม่ตรงกันของพ่อแม่ผู้ปกครอง

และที่สำคัญคือ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เช่น ไอแพด แท็บเล็ต มือถือ รวมถึงโทรทัศน์ เป็นเวลานานๆ โดยขาดการควบคุมจากผู้ปกครอง ซึ่งสื่อหรืออุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในปัจจุบัน พ่อแม่มักสังเกตเห็นว่าเวลาที่ลูกอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้จะนิ่ง อยู่ได้นาน ไม่รบกวนพ่อแม่ พ่อแม่ควบคุมได้ง่ายขึ้น ทำให้พ่อแม่หลายคนเลี้ยงดูลูกโดยการให้อยู่กับหน้าจอตลอดเวลาทั้งในบ้านและนอกบ้าน

เด็กที่มีการใช้สื่อเหล่านี้มากๆ จะกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าโดยเฉพาะด้านการพูดและการสื่อสาร ขาดทักษะสังคม ใจร้อน รอคอยอะไรไม่ได้ หงุดหงิดง่าย รวมถึงอาจมีปัญหาพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดจากการเลียนแบบสิ่งที่ดูจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

อ่านต่อ … https://www.manarom.com/blog/adhd_disorder.html

Scroll to Top