ยุติการตั้งครรภ์ EP2 จากการตรวจครรภ์ ทางเลือก ตรรกะ ที่ต้องคิดให้มากๆ

ยุติการตั้งครรภ์ EP2 จากการตรวจครรภ์ ทางเลือก ตรรกะ ที่ต้องคิดให้มากๆ – เรียกว่าเป็นภาคต่อจาก EP1

ยุติการตั้งครรภ์ จากการตรวจครรภ์ ทางเลือก ตรรกะ ที่ต้องคิดให้มากๆ

ยุติการตั้งครรภ์ จากการตรวจครรภ์ ทางเลือก ตรรกะ ที่ต้องคิดให้มากๆ

จำได้เลาๆว่าเคยคุยประเด็นไว้นานมากแล้วสมัยอยู่ใน bloggang กลับไปคุ้ยๆก็ไม่เจอ เลยคิดว่า คุยกันใหม่ดีกว่า เพราะอาจจะมีบางประเด็นที่แตกยอดออกไปอีก

ขออนุญาติออกตัวแรงตรงนี้ล่วงหน้านะครับว่า NGO หรือ โลกสวย หลบไปก่อน เราจะคุยเรื่องชีวิตจริง โลกของความเป็นจริงกัน

ยุติการตั้งครรภ์ EP2

เรามักจะโลกสวยได้ถ้าเราไม่ต้องรับภาระจากความโลกสวยของเรา …

ชีวิตมันก็แบบนั้นแหละครับ

ยุติการตั้งครรภ์ EP2

ข้าว หรือ ขนมปัง บนโต๊ะอาหารของครอบครัวหนึ่ง (อาจจะต้องแลกมาด้วยอะไรที่พวกเราที่เปิดตู้เย็นก็มีของกิน) นึกไม่ถึง … ไม่ใช่ดราม่า แต่เป็นชีวิตจริง

ผมไม่ได้สนับสนุนให้เราทำทุกอย่างโดยไม่สนอะไรหรือสนใคร เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย 4 หรือ ยอมอดตาย หนาวตาย ป่วยตาย เพราะยึดมั่นถือมั่นกับอะไรในความคิดความเชื่อของเราเอง(คนดียว)

แต่ผมขอแค่ว่า เราอย่าไปวิจารณ์ ประนามผู้อื่นก็แล้วกัน เราไม่เกิดมาเหมือนเขา เราไม่รู้หรอก ถ้าเราเกิดมาเหมือนเขา เราก็คงทำอย่างเขานั่นแหละ

เป็นการง่ายที่คนที่เกิดมาใน สภาพแวดล้อม กฏหมาย เศรษฐศาสต์ การเมืองการปกครอง ที่เพรียบพร้อม ที่จะวิจารณ์ ประนาม การกระทำของใครสักคนที่เขาแค่จะดิ้นรนเพื่อที่จะอยู่รอด … มื้อต่อมื้อ

เหมือนที่ฝรั่งเปรียบเทียบว่า ลองไปใส่รองเท้าของเขาซิ (put oneself in someone’s shoes) ถ้าสำนวนไทยก็ อกเขาอกเรา ใจเขาใจเรา … (น่าสังเกตุว่าคนไทยใช้ใจกับอก ฝั่งใช้เท้า 555)

เกี่ยวกับเรื่องยุติการตั้งครรภ์ที่เรากำลังจะคุยกันตรงไหน … ก็ตรงนี้ อย่าไปตัดสินอะไรใครเลยครับ เรามักจะโลกสวยได้ถ้าเราไม่ต้องรับภาระจากความโลกสวยของเรา …

ยุติการตั้งครรภ์ EP2 จากการตรวจครรภ์ ทางเลือก ตรรกะ ที่ต้องคิดให้มากๆ

EP1 จบลงที่ตรรกะว่า เมื่อตรวจครรภ์แล้ว ผลการตรวจมีผลทำให้ยุติการตั้งครรภ์หรือไม่

ถ้าคำตอบคือมีผลฯ … ก็ควรตรวจ

ถ้าคำตอบคือ ไม่มีผลฯ … อย่างไรก็จะไม่ยุติการตั้งครรภ์ คำถามคือ แล้วไปเสียเงินตรวจทำไม

EP2 จะชวนแตกประเด็นต่ออีกนิดเดียวครับ …

ระดับ และ ประเภท ของความไม่ปกติ

ความไม่ปกติมีื 2 ประเภท คือ ทางกาย และ ทางจิต

เท่าที่ผมทราบ ทางจิตนั้นไม่สามารถตวรจพบได้ขณะตั้งครรภ์

ส่วนทางกายนั้น ได้แน่นอน แต่ผลจะออกมาเป็นความน่าจะเป็น และ ในบางกรณีก็อาจจะเห็นได้ชัดเจนจากอัลตร้าซาวด์

เอาล่ะ ผมไม่ใช่คุณหมอสูติฯ แต่ผมอยากจะมองแบบบ้านๆ ว่าความผิดปกติมีหลายระดับแน่ๆ เช่นระดับ 0 คือ ไม่ผิดปกติ และ ระดับ 5 คือ ผิดปกติมากๆอันตรายต่อว่าที่คุณแม่ถ้าไม่ยุติการตั้งครรภ์ คุณหมอสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เลยโดยว่าที่คุณแม่ไม่ต้องเห็นชอบด้วย

คราวนี้ก็จะเหลือความผิดปกติระดับ  1 ถึง 4 ล่ะ … แน่นอนว่าต้นทุนการจะเลี้ยงดูคนที่ผิดปกติระดับ 1 ก็จะ น้อยกว่า ระดับ 2 และ ไล่ไปเป็นลำดับ จนถึง ระดับ 4 ที่ต้องใช้เงินทอง เวลา ความพร้อม อย่างยิ่งยวดที่จะเลี้ยงคนๆนั้นขึ้นมาจนกว่าคนนั้นจะหมดอายุขัยไป

คำถาม

ที่ควรถามตัวเองก่อนตัดสินใจไม่ยุติการตั้งครรภ์ ถ้าพบว่าเจ้าตัวเล็กในครรภ์มีความผิดปกติลำดับใดใน 1 ถึง 4

“โดยไม่ต้องเป็นภาระของสังคมไม่ว่าทางการเงินหรืออื่นใด ฉันและครอบครัวสามารถเลี้ยงลูกคนนี้ขึ้นมาจนกว่าเขาหรือเธอจะหมดอายุขัยไปหรือไม่”

ผมมีความเห็นแบบนี้ครับ …

ถ้าเราไม่รู้มาก่อน (เช่น โรคทางจิตเวชที่เป็นกรรมพันธุ์) สังคมควรยอมรับและช่วยเหลือตามสมควรไป เพราะไม่มีใครรู้มาก่อน ไม่มีใครต้องตัดสินใจมาก่อน ไม่มีใครต้องการให้เป็นแบบนี้ แต่เพราะเราไม่รู้

สังคมควรให้ความเป็นธรรมกับเรา สังคมควรช่วยเหลือเรา

แต่ถ้าเรารู้มาก่อน เราก็ควรให้ความเป็นธรรมกับสังคม เพราะทรัพยากรของสังคมมีจำกัด เรารู้อยู่แก่ใจว่าลำพัง เราไม่มีวันที่จะเลี้ยงเขาหรือเธอได้โดยลำพัง

โลกไม่สวยครับ

ถ้าเราต้องการสิทธิ์ในการเลือกที่จะเก็บลูกเราไว้ เราก็ต้องมีหน้าที่ที่เลี้ยงโดูเขาได้โดยไม่ต้องเรียกร้องความช่วยเหลือจากใคร

ไม่ใช่เลือกที่จะมีเขาแต่ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู แล้วมาร้องกับเพื่อนบ้าน ร้องกับสังคมว่าไม่ช่วย หรือ ช่วยได้ไม่ดี ช่วยได้ไม่พอ ไม่มีคุณธรรม ไม่มีเมตตาธรรม หัวใจทำด้วยอะไร บลาๆ

ส่งต่อภาระให้กับรุ่นต่อไป

ยังไม่นับอีกว่า ถ้าความผิดปกตินั้น สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมต่อไปได้ถึงรุ่นหลานเรา ถ้าหากเขาหรือเธอที่ผิดปกติมีโอกาส(ทางใดทางหนึ่งไม่ว่าเต็มใจหรือไม่เต็มใจ)มีลูกต่อ

เมตตา

มองในอีกมุมหนึ่ง ถ้าเรารู้ว่าลูกเราผิดปกติ การยุติการตั้งครรภ์ อาจจะเป็นการเมตตาอย่างหนึ่ง เมตตาต่อตัวเขา ตัวเราเอง สังคม ลูกหลานในรุ่นต่อๆไป

ใครตัดสินใจ

ผมไม่รู้หรอกว่าโดยเงื่อนไขทางการแพทย์แล้วตัวอ่อนต้องผิดปกติขนาดไหน ถึงจะเก็บเอาไว้ได้ ไม่สามารถไม่อนุญาติให้ยุติการตั้งครรภ์ได้ ระดับไหนเป็นการตัดสินใจของว่าที่คุณแม่ และ ระดับไหนเกินการตัดสินใจของคุณแม่

ถ้าไม่ใช่การตัดสินใจของเราก็แล้วไป …

แต่ถ้าคุณหมอบอกว่า ขึ้นกับเรานะ ลูกบอลมาอยู่ในมือเรา เราก็ควรจะคิดให้หนักๆ คิดให้ดีๆ เพราะผลการตัดสินใจ ไม่ใช่มาลงที่เราคนเดียว มันไปถึงคนอื่นๆอีกมากมายนอกวงของครอบครัว นอกวงของญาติพี่น้อง ของเรา

ลองคิดกลับกัน

คนเรามักจะมองเห็นแต่สิทธิ์ ประโยชน์ ส่วนตัวเองเป็นหลัก ลืมคิดไปว่า ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เรามีหน้าที่ต่อสังคมด้วย

ถ้าครึ่งหนึ่งของคนที่จะเกิดมาในสังคมผิดปกติ โดยรู้อยู่แก่ใจว่าคนที่ทำให้เกิดมานั้นไม่สามารถดูแลได้ และ รู้ล่วงหน้าด้วยว่าจะเป็นแบบนั้น ต้องให้คนทั้งสังคมโดยเราต้องรับภาระส่วนนี้ด้วย เราจะคิดอย่างไร …

เราอาจจะโลกสวยบอกว่า ฉันโอเค ฉันใจบุญ ฉันช่วย …

แต่วันที่ฉันคนที่ใจบุญนี้ล่ะ ไปเห็นเด็กปกติๆดีๆนี่แหละที่เกิดมาโดยที่คนที่ทำให้เกิดไม่พร้อมที่จะดูแลเลี้ยงดู แล้วเอามาทิ้งไว้ตามกองขยะ รพ. สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า บลาๆ ฉันกลับพูดว่า ไม่พร้อมจะเลี้ยงจะดูแลทำไมให้เกิดมาเป็นภาระสังคม ทำไม่ไม่คุมกำเนิด

อ้าว … นี่ขนาดเด็กที่ปกติดีทุกอย่างนะ แต่พ่อแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู เรายังเรียกร้องให้คุมกำเนิดเลย

ชาวโลกสวยอาจจะออกมาพิทักษ์สิทธิ์การที่จะมีลูกแม้ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู เฮ้ ปั๊มกันออกมาเลย การมีลูกเป็นสิทธิ์พื้นฐาน งั้นขอให้ชาวโลกสวย รับเอาไปเลี้ยงสักคนสองคนไหมล่ะครับ

เรามักจะโลกสวยได้ถ้าเราไม่ต้องรับภาระจากความโลกสวยของเรา …

คุณกับผมอาจจะโชคดี

ที่ไม่ต้องตัดสินใจอะไรยากๆแบบนั้น เพราะลูกคุณปกติ ส่วนเจ้าสองคนของผมก็เป็นโรคจิตเวช ซึ่งตรวจอย่างไรก็ไม่เจอ ผมพูดได้ตรงนี้เลยว่า ถ้าตรวจเจอตรวจพบได้ ผมก็ต้องประเมินตามหลักที่ผมนำเสนอนี้แหละ ถ้าเอาไว้ ผมต้องแน่ใจว่า ไม่มีใครนอกจากผมที่ต้องมารับผิดชอบชีวิตเขา ผมให้เขาเกิดมาได้ ผมต้องเลี้ยงได้

ผมอาจจะคิดผิด แต่อย่างน้อย ก็เป็นอีกวิธีคิดหนึ่ง

——————————————–

recta sapere

กีฬาทุกประเภท มีกฏกติกา มากมายหลายๆข้อ บางข้อเราเห็นด้วย บางข้อเราก็ไม่เห็นด้วย แต่เมื่อเราต้องลงแข่ง ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เราก็ต้องเคารพกติกาทุกข้อ ไม่ใช่เลือกเคารพแต่กติกาข้อที่เราเห็นด้วย (ไม่เช่นนั้นคงไม่มีใครมาร่วมเล่นหรือร่วมแข่งกับเรา) … การทำงาน สังคม ชีวิต และ ความรักก็เช่นกัน …

Scroll to Top