ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ADHD

Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ

Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ – วันนี้ว่างๆ ทำงานที่บ้าน เวลาเลยเยอะขึ้น ไม่ต้องเดินทาง คิดว่าน่าจะเอาเรื่องการพัฒนาทักษะสังคมให้เด็กพิเศษมาแบ่งปัน ตามเคยครับ ต้องออกตัวก่อนว่าเป็นวิธีที่ผมสังเกตุ ลองผิดลองถูก และ เรียนรู้เอง ล้วนๆ ไม่มีหลักวิชาการอะไร ถ้าเอาไปใช้ อาจจะต้องสังเกตุเด็กเป็นรายๆกรณีๆไป Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ ทักษะทางสังคม เป็นความสามารถในการรู้จัก เข้าใจ สร้างสรรค์และประสาน ความรู้สึก ความต้องการ ความสัมพันธ์ ตลอดจนแก้ปัญหาและจัดการกับการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่มีต่อกัน ทักษะทางสังคม ประกอบด้วยกลุ่มของทักษะต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกันของบุคคลในสังคมได้แก่ ทักษะการสื่อสาร การพูด การฟัง การทำงานร่วมกัน ความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในทางบวกให้เกิดขึ้น พอครับ เอาทฤษฎีขึ้นต้นพอให้ดูขลัง 555 🙂 ผมยกตัวอย่างง่ายๆว่าทักษะสังคม ประกอบด้วยสองส่วน (ตามความเข้าใจผม ไม่มีทฤษฎีสนับสนุน) ส่วนแรก อบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ครูผุ้ปกครอง พูดง่ายๆ […]

Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ Read More »

ผู้ป่วยจิตเวชไม่ต้องกินยา ได้ไหม ทำไมต้องกิน บอกเล่าเท่าที่รู้มา

ผู้ป่วยจิตเวชไม่ต้องกินยา ได้ไหม ทำไมต้องกิน บอกเล่าเท่าที่รู้มา – เมื่อวานบ่ายๆ จู่ๆเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่ไม่ค่อยได้คุยกันนัก แต่เราก็สนิทกัน ส่งไลน์นี้มาให้อ่าน (อาจจะเป็นเพราะรู้ว่าครอบครัวผมมี 4 คน และ ผมเป็นคนเดียวที่ไม่เป็นผู้ป่วยจิตเวช ผมน่าจะให้คำปรึกษาได้ดีที่สุด 555) “อาการดีเพรสเหมือนสมองเป็นแผล ยาต้านเศร้าทำให้สมองรักษาตัวเอง มันไม่ได้ทำให้อาการหายทันทีอาการดีเพรส (หมดแรงทำงานไม่ได้นานเป็นสัปดาห์/เดือน) ก็เหมือนกับสมองเป็นแผล มันเหมือนสมองถูกความเครียดกระแทกมากๆจนเป็นแผล เนื่องจากสมองแต่ละคนไม่เหมือนกัน เหมือนผิวบางคนโดนอะไรนิดเดียวก็เป็นแผล แต่บางคนไม่ค่อยเป็นไร ดังนั้นบางคนเจอวิกฤติก็เป็นโรคซึมเศร้า แต่บางคนไม่เป็นไร หลังจากเป็นแผลแล้วการทำงานของสมองก็จะรวน (ซึ่งวัดได้จากสารสื่อประสาท และมองเห็นจากสแกน MRI) ในหัวเลยเต็มไปด้วยความคิดลบ ปราศจากความสุข ซึ่งทำให้ความเครียดดำเนินต่อไปอีกเรื่อยๆ แม้ปัญหาผ่านไปนานแล้ว เหมือนเป็นแผลแล้วมือเรายังคงไปแกะกวนให้แผลนั้นไม่หายสักที ยาต้านเศร้าไม่เหมือนยาแก้ปวด มันไม่ได้ทำให้อาการหายเมื่อทานไป 30 นาที เพราะแผลหายทันทีไม่ได้ แต่อาศัยปริมาณยาที่สะสมในร่างกายจากการกินยาต่อเนื่อง ไม่ขาดแม้สักมื้อเดียว จะทำให้สมองและความคิดเราเริ่มเป็นปกติ คิดลบน้อยลง เริ่มมีความสุขได้ เริ่มสนใจและทำสิ่งต่างๆ ก็เหมือนเมื่อเราไม่เอามือไปเขี่ยแผล แล้วแผลจะค่อยๆดีขึ้นเอง ดังนั้นเมื่อแผลเริ่มดีขึ้นแล้ว เราก็ต้องเลี่ยงความคิดลบ และลุกขึ้นกลับมาทำกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าของตัวเองด้วย เพราะการอยู่เฉยๆนานๆก็ทำให้วิธีคิดเราเปลี่ยนไป มองเห็นคุณค่าตัวเองน้อยลง เราจึงต้องลุกขึ้นค่อยๆกลับมาใช้ชีวิต

ผู้ป่วยจิตเวชไม่ต้องกินยา ได้ไหม ทำไมต้องกิน บอกเล่าเท่าที่รู้มา Read More »

เลือก คุณหมอจิตเวช

เลือก คุณหมอจิตเวช ให้ลูกสมาธิสั้น อย่างไรถึงจะทำให้การรักษามีประสิทธิผล

เลือก คุณหมอจิตเวช อย่างไร เป็นหัวข้อแรกๆที่ผมโดนถามมาตลอด ผมเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ในด้านนี้แต่อย่างไร แต่ก็ผ่านประสบการณ์ตรงมาเยอะเท่านั้น จึงอยากจะรวบรวมความคิดเห็นที่ได้เคยแบ่งปันกันไปตามเมล์ต่างๆไว้ที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง คือถ้าถามคำถามทำนองนี้ผมผมก็จะได้ก๊อปลิงค์ไปแปะเลย อิอิ 🙂 ลักษณะพิเศษของโรคจิตเวช ก่อนอื่นอยากชวนพวกเรามารู้จักลักษณะพิเศษของเจ้าโรคจิตเวชที่ไม่เหมือนกับโรคทางกายทั่วๆไปกันเสียก่อน โรคทางกายอื่นๆนั้น โดยปกติเกือบ 100% มีข้อกำหนดที่บ่งชี้อย่างชัดว่า ถ้าวัดอะไรได้ค่าเท่าไร ก็ถือว่าเป็นโรคนั้นโรคนี้ ตัวอย่างง่ายๆคือ พวกค่าความดันเลือด ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าอุณหภูมิของร่างกาย หรือ บางลักษณะอาการที่ชัดเจน เช่น ปวดหัว บ้านหมุน อาเจียรพุ่ง เป็นลม หมดสติ น้ำมูกไหล จมูกแดง น้ำตาไหล ฯลฯ โรคจิตเวชนั้นก็มีอาการระบุเช่นกัน ผมจะเจาะจงมาที่อาการของโรคสมาธิสั้นก็แล้วกันนะครับ เช่น เสียงดัง ขี้ลืม รอคอยไม่ได้ ซน อยู่ไม่นิ่ง กล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง เป็นต้น เวลาพวกเราพ่อๆแม่ๆพาผู้ต้องสงสัยคือคุณลูกไปพบจิตแพทย์ ก็มักจะได้ทำ “แบบประเมิน” ซึ่งก็เป็นการตอบคำถามอาการต่างๆว่า มีอาการนั้นๆในแบบประเมินหรือไม่ มีมากน้อยแค่ไหน ก็มักจะมีระดับ (scale) ให้เลือก อาจจะเป็น

เลือก คุณหมอจิตเวช ให้ลูกสมาธิสั้น อย่างไรถึงจะทำให้การรักษามีประสิทธิผล Read More »

เด็กสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น … เราควรบอกเขาไหมว่าเขาเป็นเด็กสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น … เราควรบอกไหมว่าเขาเป็น เด็กสมาธิสั้น … ผมเชื่อว่าเป็นคำถามคาใจคุณพ่อแม่ของเด็กสมาธิสั้นหลายๆคน ซึ่งก็รวมผมไปด้วยคนหนึ่งล่ะ วันนี้ผมจะมาชวนมองประเด็นนี้ให้รอบๆด้าน ชวนคิดต่อง หาเหตุผลมาค้านกันไปค้านกันมา ความเห็นคุณหมอ แน่นอนว่าคนแรกที่เราต้องไปขอความเห็นคือ คุณหมอจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คำตอบที่ผมได้จากกรณีน้องเฟิร์น คือ “ควรบอก” คำถามต่อมาที่ผมถามคุณหมอคือ ควรบอกตอนไหน คำตอบคือ “เมื่อพร้อม” … แล้วเมื่อไรที่พร้อม มีสัญญานอะไรบอกว่าพร้อม ระหว่างที่ตัดสินใจกัน ผมก็ได้สำรวจ สอบถามความคิดเห็นจากพ่อๆแม่ๆเด็กสมาธิสั้นที่พอจะรู้จัก เพื่อฟังความเห็นต่าง ควรจะบอก หนึ่งในหลายความเห็นก็เห็นว่า ควรจะบอก เพราะเด็กจะได้เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับเขาที่โรงเรียน คนรอบๆข้าง ทำไม เพื่อนๆ และ ครูที่โรงเรียน มีปฏิกริยาต่อเขาอย่างที่เป็นอยู่ เพราะถ้าไม่บอก ไม่อธิบาย เขาจะไม่เข้าใจ เขาจะคิดว่าเขาก็เหมือนกับคนอื่นๆนี่นา ผลที่ตามมาก็คือ เขาจะเสียความมั่นใจในตัวเอง เสีย self esteem (ความนับถือตนเอง เชื่อมั่น และ ภูมิใจในตนเอง) มองตัวเองเป็นตัวปัญหา ด้อยค่า ไม่มีคนรัก ไม่มีคนต้องการ

เด็กสมาธิสั้น … เราควรบอกเขาไหมว่าเขาเป็นเด็กสมาธิสั้น Read More »

Scroll to Top