Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ

Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ – วันนี้ว่างๆ ทำงานที่บ้าน เวลาเลยเยอะขึ้น ไม่ต้องเดินทาง

คิดว่าน่าจะเอาเรื่องการพัฒนาทักษะสังคมให้เด็กพิเศษมาแบ่งปัน

ตามเคยครับ ต้องออกตัวก่อนว่าเป็นวิธีที่ผมสังเกตุ ลองผิดลองถูก และ เรียนรู้เอง ล้วนๆ ไม่มีหลักวิชาการอะไร

ถ้าเอาไปใช้ อาจจะต้องสังเกตุเด็กเป็นรายๆกรณีๆไป

Social skill developing
social skill

Social skill developing

พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ

ทักษะทางสังคม เป็นความสามารถในการรู้จัก เข้าใจ สร้างสรรค์และประสาน ความรู้สึก ความต้องการ ความสัมพันธ์ ตลอดจนแก้ปัญหาและจัดการกับการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่มีต่อกัน

ทักษะทางสังคม ประกอบด้วยกลุ่มของทักษะต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกันของบุคคลในสังคมได้แก่ ทักษะการสื่อสาร การพูด การฟัง การทำงานร่วมกัน ความสามารถในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่หลากหลาย กฎกติกาต่าง ๆ ในสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในทางบวกให้เกิดขึ้น

พอครับ เอาทฤษฎีขึ้นต้นพอให้ดูขลัง 555 🙂

ผมยกตัวอย่างง่ายๆว่าทักษะสังคม ประกอบด้วยสองส่วน (ตามความเข้าใจผม ไม่มีทฤษฎีสนับสนุน)

ส่วนแรก อบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ครูผุ้ปกครอง พูดง่ายๆ คือ พ่อแม่ครูผุ้ปกครองโปรแกรมไว้ให้เลย เช่น กาละเทศะแบบไหน ควรพูด และ ทำอย่างไร

ส่วนที่สอง เด็กพัฒนาขึ้นมาเองจากประสบการณ์ การเทียบเคียง เมื่อส่วนแรกไม่ตอบโจทย์ คือ ไม่มีโปรแกรมไว้ หรือ ที่โปรแกรมไว้ ใช้ไม่ได้ผล กับบางสถานการณ์

ในคนปกติๆแบบเราๆ ส่วนแรกอาจจะอยู่ที่ 20 – 40% ที่เหลือ คือ ส่วนที่สอง (เดาล้วนๆ ไม่มีงานวิจัยรองรับ 555)

แต่สำหรับประสบการณ์ตรงที่เลี้ยงยัยเฟิร์นมาค่อนข้างกลับกัน หุหุ

ต้องโปรแกรมให้ค่อนข้างเยอะ เพื่อให้ครอบคลุมอย่างน้อยก็ 80 – 90% ของชีวิตจริง

แต่ข้อดีของคนพิเศษอย่างนาง คือ ความจำจะดีมาก สามารถรับโปรแกรมได้เกือบจะไม่จำกัด (คือแลกกันกับความสามารถอีกด้านที่พร่องไป)

ยกตัวอย่างง่ายๆก็แล้วกัน เพื่อจะได้เห็นภาพ

เมื่อไรควรพูดความจริง …

คนปกติๆ อาจจะถูกสอนด้วยกฏเกณฑ์คร่าวๆนิดๆหน่อยๆ ว่าเมื่อไรควรพูดความจริง แล้วก็คงปรับใช้ได้เองใช่ไหมครับ

แต่สำหรับคนเพิเศษอย่างนาง ต้องละเอียดกว่านั้นหน่อย

คลิ๊กอ่านได้เลยครับ เคยแบ่งปันเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้

ก็มันเป็นความจริงนี่คะ หนูจะพูด

ก็มันเป็นความจริงนี่คะ หนูจะพูด … “ควรจะพูดความจริงไหม” บทเรียนที่ 16 ของน้องเฟิร์น

สรุป คือ ให้เป็นกฏไปเลย ครบ 5 ข้อ แล้ว อยากพูดความจริง ก็พูดได้เลย

แน่นอนว่า อาจจะมีกรณียกเว้นจากกฏ 5 ข้อ นี้ แต่มันก็คงน้อยๆมากๆ และ หวังว่า เธอคงไม่ต้องเจอกรณีแบบนั้น

ตัวอย่างอีกกรณีนึง เมื่อเช้านี้ สดๆร้อนๆ โปรแกรม บทสนทนาให้เธอ

ปกติเธอจะถามแบบห้วนๆ ถ้าคนไม่เข้าจะจะคิดว่านางก้าวร้าวไม่มีมารยาท ถามคำถามต่อคำถาม เหมือนตำรวจสอบปากคำผู้ต้องสงสัย หรือ ทนายสอบพยานในศาล 555 🙂

ประโยคตั้งต้น + ความคิดเห็น + (คำขอถาม(ถ้ามีคำถาม) + คำถาม) + ประโยคปิด

ก็เลยต้องโปรแกรมทางเลือก 3 – 4 แบบของแต่ล่ะประโยค ว่ามีอะไรได้บ้าง เหมือนเราเรียนสนทนาภาษาอังกฤษสมัยก่อนที่มีประโยคมาตราฐานแล้วจำเอาไปใช้ได้เลย

เช่น ประโยคตั้งต้นที่ดี จะต้องแสดงเป็นกลางๆ (ถ้าไม่ชัวร์) หรือ เห็นด้วย หรือ ภาคเสธ (แบ่งรับแบ่งสู้กรณีที่ไม่เห็นด้วย)

อืม … ก็โอเคนะ เฟิร์นว่า, เฟิร์นก็คิดคล้ายๆคุณพ่อ หรือ เฟิร์นเห็นด้วยบางส่วนนะ

ส่วนประโยคขอถามก็ เช่น แล้ว … (คุณพ่อ) …คิดว่า … หรือ เฟิร์นก็สงสัยนะคะว่า ….

อะไรแบบนี้ ให้เธอลอกเอาไปใช้เลย

เด็กปกติ อาจจะไม่ต้องลงรายระเอียดขนาดนี้ แค่บอกกรอบคร่าวๆก็สามารถพัฒนาหาคำ หรือ ประโยค ต่อได้เอง แต่สำหรับเธอแล้วต้องลงละเอียดกันเบอร์นี้

แน่นอนครับว่า ไม่สามารถครอบคลุมได้หมด แต่อย่างน้อยก็เป็น ชุดประโยคที่ปลอดภัย (generic universal) และ ใช้งานได้กว้างระดับหนึ่ง

ถ้าจะเทียบเคียงกับการเป็นโปรแกมเมอร์

พ่อแม่เด็กปกติอาจจะเขียนโค้ดสัก 500 บรรทัด ในช่วง 15 ปีแรกๆ ที่เหลือก็ให้เด็กไปพัฒนาชุดประโยค หรือ ชุดการกระทำ เพิ่มเอาเอง

แต่สำหรับผม …

ผมต้องเขียนโค้ดเป็นหมื่นๆบรรทัด และ ที่สำคัญคือ ต้องเขียนโค้ดกันไปจนตายกันไปข้างหนึ่งเลย (ไม่ผมก็นาง 555)

“ความจำ” เป็นคนล่ะเรื่องกับ “ความใส่ใจ”

ความจำ เป็น ส่วนหนึ่งของ IQ

ความใส่ใจ (อีกนัยหนึ่งคือ สติ) เป็น ส่วนหนึ่งของ EQ

กรณีของเฟิร์น ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่ ความจำ แต่อยู่ที่ ความใส่ใจ

เธอมีความจำที่ดีทีเดียว แต่เมื่อถึงคราวปฏิบัติ เธอกลับทำบ้างไม่ทำบ้าง อย่างที่โปรแกรมไว้ เพราะความใส่ใจ

พิสูจน์ได้ง่ายๆเลยครับ แตะเบรค ถ้าให้เธอหยุดคิดสักแป๊บ เธอก็จะพูด หรือ ทำได้ถูกต้องตามที่โปรแกรมไว้

แสดงว่าความจำเธอโอเคอยู่ เพราะถ้าความจำเธอไม่ดี ต่อให้กระทืบเบรคกี่ครั้ง เธอก็จะจำไม่ได้ว่าโปรแกรมอะไรไว้

ถ้าเธอไม่หยุดสักแป๊บ เธอก็จะกลับไปเป็นเหมือนเดิม 555

มันคือ “สติ” ซึ่งก็ต้องพัฒนากันต่อไป (โถ แก่หัวหงอกอย่างพ่อ ก็ยังหลุดบ้างไรบ้าง อิอิ)

ก็ประมาณนี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างเล็กๆน้อยๆเป็นแนวทาง

เป็นกำลังใจให้กันเสมอนะครับ 🙂

1 thought on “Social skill developing พัฒนาทักษะสังคมคนพิเศษ”

  1. Pingback: Listen Listen and Listen ทำไมไม่มีใครคุยกับหนู - Nong Fern and Pat story

Comments are closed.

Scroll to Top