Group penalty … ทำผิดคนเดียว ทำโทษทั้งชั้น เพื่อ … (อะไร)

Group penalty … ทำผิดคนเดียว ทำโทษทั้งชั้น เพื่อ … (อะไร) – คุ้นไหมครับ สมัยเด็กๆ เวลามีตัวแสบในห้องเรียนไม่เชื่อฟังครู ทำผิดอะไรสักอย่างแล้วโดนทำโทษกันยกชั้น เราจะเห็นภาพนี้บ่อยๆ ทั้งในห้องเรียนวิชาปกติ วิชาพละ วิชากิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ไปจะถึง วิชาทหารที่เรียกว่า เรียน รด.

คำอธิบายที่ครูๆมักจะให้ก็คือ เราต้องทำงานเป็นทีม รับผิดชอบร่วมกัน เพื่อนกันต้องรู้จักรักกันเตือนกัน (ซิว่ะ) … ปล. ครูลืมถามไปหรือเปล่าว่าผมเลือกที่จะเป็นเพื่อนกับมันไหมครับครู 555 (สมัยผม รร.จัดห้องเรียงตามลำดับอักษรชื่ออ่ะ)

ผมไม่ใช่นักการศึกษา นักพฤติกรรมศาสตร์ หรือ นักจิตวิทยา แต่จะชวนคุยในฐานะที่เป็น “ผู้สังเกตุสังคม” (ไม่มีตำแหน่งนี้หรอก ผมตัั้งของผมเอง)

Group penalty

Group penalty …

ทำผิดคนเดียว ทำโทษทั้งชั้น เพื่อ … (อะไร)

ปรากฏการณ์แบบนี้ มีอยู่ให้เห็นทุกสังคม เชื้อชาติ ภูมิภาค และ มีอยู่แบบนี้มานานนมแล้วบนดาวเคราะห์ดวงนี้

ถ้าเราคิดถึงหลักธรรมชาติข้อหนึ่งที่ว่าด้วยการมีประโยชน์จากการดำรงอยู่

สรุปย่อๆว่า อะไรก็ตาม ไม่ว่าเป็นลักษณะทางกายภาพ หรือ พฤติกรรมสังคม ถ้ามันมีอยู่ ดำรงอยู่ แปลว่ามันต้องประโยชน์ และ มีเหตุผลอะไรสักอย่างที่สิ่งนั้นดำรงอยู่ … การทำโทษแบบหมู่นี้ก็เช่นกัน แต่ว่า มันเพื่ออะไรล่ะ

ถ้ายึดตามหลักเหตุผล และ หลักการรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตัวเองที่เราถูกพร่ำสอนมานั้นมันก็ไม่ยุติธรรมนี่นา

ใคร(มัน)ทำคนนั้น(มัน)ก็ควรได้รับผลไปซิ ฉัน(กู)ไปเกี่ยว(ซวย)อะไรด้วย

เรื่องของเรื่องคือ มนุษย์เราเป็นสิ่งสร้างที่อ่อนแอ อยู่ไม่รอดได้ด้วยตัวคนเดียว

ดูอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดซิครับ สัตว์หลายประเภทที่มันอยู่ตัวคนเดียวของมันก็ได้ พอถึงฤดูผสมพันธุ์ก็มาผสมพันธุ์กัน นอกจากเวลาผสมพันธุ์ มันก็ศิลปินเดี่ยวของมันไป

แต่คนเราไม่ใช่อย่านั้นนิ …

เราพึ่งพากันเพื่อการอยู่รอด ตั้งแต่สมัยเราอยู่ถ้ำแล้ว ผมเคยได้ชวนคุยกันอย่างล่ะเอียดไปแล้วใน Caveman Principle กับ Social Distancing

ดังนั้นปรากฏการณ์ “มึงพลาดกูซวยไปด้วย” จึงมีให้เห็นในสังคมคนเรา

มีตั้งแต่ในระดับเบบี้ๆ เช่น การแข่งกีฬาเป็นทีม การทำธุรกิจ ไล่ไปถึงระดับความเป็นความตาย อย่างตำรวจ ทหาร นักดับเพลิง นักสำรวจ นักเดินเรือ หรือ แม้แต่แท่นขุดเจาะน้ำมันอย่างเรา ที่ชีวิตเราหรือความสำเร็จของเรา(อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งล่ะ)ต้องไปอยู่ในมือเพื่อนๆร่วมทีมร่วมแท่นเจาะฯของเรา

ปรากฏการณ์ “มึงพลาดกูซวยไปด้วย” จึงมีให้เห็น

ดังนั้น การทำโทษหมู่เป็นกลุ่มในสมัยเราเด็กๆจึงเป็นการจำลองชีวิตในโลกจริงๆที่เราต้องโตมาเผชิญกับมัน ทำให้เราต้องคอยตบกระบาลเพื่อนที่มันจะแอบเกเรหนีเรียน เพื่อไม่ให้ทั้งห้องซวยไปด้วย

ก็เพราะในชีวิตจริง เราไม่ได้เป็นศิลปินเดียวกันทุกคน

แม้จะมีบางคนที่โตมาเก่งกล้าเป็นศิลปินเดี่ยวก็เถอะ ที่สามารถทำงานทำการที่ทำได้เองแบบตัวคนเดียวจริงๆ (เช่น ศิลปินโด่งดังวาดรูปขาย นักแต่งเพลงระดับโคตรเพราะ) แล้ว(กู)ไม่แคร์ใคร มีผืนผ้าใบ มีสีมีพู่กัน (กู)ก็หากินได้

ถึงจะเดี่ยวเบอร์นั้น ก็ต้องอยู่ในสังคม พึ่งพาสังคม (แม้จะน้อย) เช่น เพื่อนบ้านข้างเคียงเกเรแล้วพาภัยมาซวยให้ทั้งหมู่บ้าน มันก็ต้องไปคอยเตือน คอยฟ้องยามฯหมู่บ้านบ้าง ยกเว้นจะไปอยู่บนเขาเดียวดายปลูกผักกินแบบนักพรตจีนโบราณ

การทำโทษแบบกลุ่มจึงเป็นการสอนให้เราต้องดูแลตักเตือน หรือ แม้แต่ต้องกำหราบเพื่อนๆ ในทีมงาน รอบบ้าน ในสังคมที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่จะถือว่า ธุระไม่ใช่ ไม่ได้ เพราะ “มึงพลาดกูซวยไปด้วย”

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ครบวงจร และ สมน้ำสมเนื้อ สมเหตุสมผล เมื่อมี Group penalty แล้ว ก็ควรจะมี Group reward คือ ให้รางวัลกันแบบเป็นกลุ่ม ไม่มีศิลปินเดี่ยวมาเอาหน้าคนเดียวเวลาทีมได้รับความสำเร็จ

สังคมเรามันพิการตรงนี้แหละครับ คนเราไม่อยากรับ(ความผิด แต่จะรับ(ความ)ชอบ

ตอนเพื่อนร่วมทีมพลาด หรือ เกเร ทำทีมล้มเหลว (แต่ไม่เตือน ไม่ช่วยมัน) ก็อยากจะชี้ไปที่มัน เขี่ยมันออกมารับผิดคนเดียว แต่พอทีมประสบความสำเร็จ กลับอยากเป็นตัวแทนทีมไปรับรางวัลหน้าเสาธง ได้ถ่ายรูปลงหนังสือรุ่น

จะว่าไปแล้ว แต่ล่ะประเทศก็มีลักษณะเด่นเรื่องนี้นะครับ

เช่น บางประเทศทำงานกลุ่ม ทำงานเป็นทีมได้ดีมาก สังเกตุได้จากวงการกีฬา วงการวิจัยพัฒนา ได้โล่ ได้เหรียญ ได้รางวัลประเภททีมบ่อยๆ ไม่ค่อยมีศิลปินเดี่ยวได้รางวัลระดับนานานชาติเท่าไร นานๆมีให้เห็นที

บางประเทศ ก็ตรงข้าม 555 🙂 ลงแข่งประเภททีมทีไร รัปทานบ๊วยทุกที แต่มีศิลปินเดี่ยวทั้งประเทศ (ไม่ได้เจาะจงว่าประเทศไหนนะครับ หุหุ)

เอาล่ะ ก็พอหมอปากหอมคอนะ ชวนคุยเฉยๆ เพราะเห็นมีดราม่าในวงการศึกษาอยู่ในเรื่องนี้ ก็อยากจะแบ่งปันมุมมองในฐานนะ “ผู้สังเกตุ” อย่างว่านั่นแหละ

ก่อนจาก …

ไม่ได้จะให้เชื่อ แต่อยากจะให้คิด เลือกเชื่อในส่วนที่คุณคิดว่าพอเชื่อได้ ส่วนที่ผมพูดไม่น่าจะเชื่อได้ ก็อย่าไปเชื่อ ผมไม่ใช่ผู้รู้อะไรที่ไหน

ในเมื่อเราพอจะเข้าใจ เห็นภาพ ว่าการทำโทษหมู่นั้นมันอยู่รอดในสังคมเรามาได้ถึงวันนี้เพราะอะไร

ดังนั้น แทนที่จะปฏิเสธมัน มองมันว่าเป็นความไม่ยุติธรรม ก็อยากให้มองมันว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้เรา (และ ลูกเรา) อยู่รอดได้ในสังคมมนุษย์

ด้วยรัก …

พ่อน้องเฟิร์นและน้องภัทร

Good Doctor ให้เด็กพิเศษพึ่งตัวเอง (ได้แค่ไหน) … ประสบการณ์ตรง

Good Doctor ให้เด็กพิเศษพึ่งตัวเอง (ได้แค่ไหน) … ประสบการณ์ตรง

Scroll to Top