Solution package การรักษาผู้ป่วย EP2

Solution package การรักษาผู้ป่วย EP2 – อย่างที่ผมพูดมาตลอดว่า การรักษาผู้ป่วยจิตเวชนั้น มี 3 วิธี (ยา การปรับพฤติกรรม และ สภาพแวดล้อม) ที่ต้องทำควบคู่กันไป

Psychiatry treatment EP1 การรักษาผู้ป่วย

จะอ่อนแก่ จะเน้นจะหย่อน วิธีไหน ก็ขึ้นกลับหลายๆปัจจัย เช่น ธรรมชาติ และ การต้องสนองของโรคนั้นๆ ต่อวิธีต่างๆ ความพร้อมของผู้ดูแลในทุกๆมิติ เช่น การเงิน เวลา การศึกษา ความรู้ความเข้าใจ และ เหนือทุกสิ่งคือทัศนคติที่ถูกต้อง

Solution package

Solution package

วันนี้ผมจะมาขยายความเพิ่มอีกนิดว่า เนื่องจากการรักษานั้นมีหลายวิธี และ ต้องทำไปพร้อมๆกัน ดังนั้น ทางแก้ปัญหาจึงออกมาเป็นชุดๆ เป็นองต์รวมประกอบกันของทั้ง 3 วิธี

เหมือนก๋วยเตี๋ยวต้มยำชามหนึ่ง ยากที่จะบอกได้ว่า มันอร่อยเพราะอะไร เพราะวัตถุดิบ (วัตถุดิบอะไรล่ะ) ขั้นตอนการปรุง (ขั้นตอนไหนล่ะ) หรือ แม้กระทั่ง บรรยากาศของร้าน และ อัธยาศัยของคนทำ คนเสริฟ ก็มีผลต่อความอร่อยของก๋วยเตี๋ยวชามนั้น

Psychiatry ไปหาจิตแพทย์ = เป็นคนบ้า

การรักษาผู้ป่วยจิตเวชก็เช่นกัน ความสำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จ ไม่ได้ขึ้นกับวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียว … สาเหตุของความสำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จมันมาเป็นชุด ที่เราเรียกว่า package

เช่น บางผู้ดูแล เน้นไปที่ยา (หรืออะไรก็ตามที่ กิน ดื่ม สูดดม ทา และ ฉีด) เพราะเหตุผลต่างๆนาๆ อีก 2 วิธีก็ใช้น้อยหน่อย ผลที่ได้ ก็อาจจะได้เหมือนกับ ใช้การปรับพฤติกรรม และ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม เป็นหลัก และ ใช้ยาน้อยหน่อย

ข้างบนนั้นผมยกตัวอย่างเฉยๆให้เข้าใจง่ายๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง ปัจจัยต่างๆมันซับซ้อนกว่านั้น แต่กุญแจสำคัญคือคำว่า package (องค์รวม)

ไม่ใช่ผู้ดูแลทุกคนจะเลือกได้ว่าจะใช้ package ไหน เช่น คนหาเช้ากินค่ำ จะเอาเงินที่ไหน ไปเปลี่ยนสภาพแวดล้อม จะเอาเวลาที่ไหนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำได้ก็แค่ไปหาหมอตามนัด และ กินยาตามสั่ง … ซึ่งก็อาจจะให้ผลเหมือนกับ ผู้ดูแลอีกคนที่ มีพร้อมทุกอย่าง รักษาด้วยอย่างอื่นประกอบเป็นองค์รวมด้วย แล้วใช้ยาน้อยกว่ามาก

นี่ผมยกตัวอย่างแบบสุดโต่ง จะได้เห็นภาพ ชีวิตจริงมันก็ก่ำกึ่งๆ ไม่สุดโต่งแบบตัวอย่างนี้หรอก

Psychiatry treatment EP1 การรักษาผู้ป่วย

แน่นอนว่าการรักษาทั้ง 3 วิธี มีข้อดีข้อด้อยของตัวมันเอง อย่างที่ผมเคยอธิบายไปแล้วก่อนหน้า พอเอามารวมกันใน package ก็ทำให้ package มีข้อดีข้อด้อย ในแบบของตัวเอง เหมือนใน portfolio ที่มีหุ้นหลายๆตัวที่มีสัดส่วนต่างๆกัน portfolio ก็จะมีข้อดีข้อเสียของทุกหุ้นรวมๆกันในน้ำหนักที่ต่างกัน

ไม่มี package ที่ดีที่สุด มีแต่ package ที่เหมาะสมกับ ผู้ป่วย และ ผู้ดูแล นั้นๆที่สุด เพราะผู้ป่วยแต่ล่ะคนก็อาการต่างการ การตอบสนองกับการรักษาแบบต่างๆก็ต่างกัย ผู้ดูแลแต่ล่ะคนก็ความพร้อมด้านต่างๆก็ไม่เท่ากัน ทัศนคติก็ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะเสนอแนวทางของผมว่า package ที่เหมาะสมที่สุดควรเอาความเห็น ความต้องการของผู้ป่วยเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย (ตามความสามารถในการแสดงความต้องการของเขา)

ผู้ป่วยทุกคนเป็นคนๆหนึ่ง มีชีวิต จริตใจ มีความต้องการ มีความรู้สึก ผู้ป่วยควรมีสิทธิ์ที่จะออกความเห็น มีส่วนร่วมในขบวนการรักษา หรือ เลือก package การรักษา ไม่ใช่ว่า ผู้ดูแลสั่งซ้ายหัน ขวาหัน โดยใช้ความสะดวกและทัศนคติตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

5 โรคสำคัญทางจิตเวช ที่คนไทยควรรู้

ผมไม่ได้บอกว่า ให้ตามใจผู้ป่วย ผมแค่บอกว่า จะทำอะไร จะออกแบบ package แบบไหน ให้เอาความคิดความรู้สึกความต้องการของผู้ป่วยมาพิจารณาร่วมด้วย

ซึ่งบางทีบางอย่างที่ผู้ป่วยต้องการ ผู้ดูแลก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำให้ได้ก็ได้ ก็ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และ เลือกทางอื่นที่เหมาะสมกว่า แต่อย่างน้อยผู้ป่วยควรมีสิทธิ์เลือกได้บ้าง เลือกยอมรับข้อด้อยบางอย่าง เพื่อแลกกับข้อดีบางอย่าง (เท่าที่ผู้ดูแลจะสามารถดูแลได้)

เราควรสื่อสาร และ ปฏิบัติกับผู้ป่วยในฐานะที่เขาเป็นคนๆหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องจักรที่เราจะซ่อมแบบไหนยังไงก็ได้ตามใจเรา

Scroll to Top